ความชราภาพหรือการแก่ (aging) ของคน วัดได้จากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยามากกว่า การนับวันเดือนปีเกิดของช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยปกติคนเราจะผ่านช่วงชีวิตอยู่สองช่วง ช่วงพัฒนาเป็นช่วงต้นของชีวิต เป็นช่วงที่มีกิจกรรมทางชีววิทยาและความสามารถในการปรับสภาพเพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นตามมาด้วย ช่วงของความชราภาพ เมื่อกิจกรรมทางชีววิทยาและความสามารถในการปรับสภาพลดลง ในช่วงดังกล่าว มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเพิ่มขึ้นมากและระบบต่างๆ ที่ควบคุมเสถียรภาพและความมั่นคงของร่างกายลดลง เช่น หน้าตาดูแก่ขึ้น ระบบการรับรู้ ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ระบบการหมุนเวียนโลหิต ความดันเสื่อมลง
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นชี้ให้เห็นว่า การเกิดภาวะความกดดันหรือความเครียดทางจิตใจ (Psychological stress) ติดต่อกันเป็นเวลานานไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย กระบวนการที่แท้จริงที่ความเครียดมีอิทธิพลต่อการเกิดโรคยังเป็นสิ่งที่เข้าใจยาก ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์รายงานว่า ความเครียดทางจิตใจ อาจไม่ก่อผลเสียเสมอไป หรืออย่างน้อยเพียงบางส่วนแต่ยังเชื่อว่า ความเครียดมีผลเสียต่อโมเลกุลที่เชื่อว่ามีบทบาททำให้เซลล์เสื่อมสมรรถภาพและอาจก่อให้เชื้อโรคมีการเจริญเติบโต
การเสื่อมสภาพของภูมิคุ้มกัน (Immune senescence) เกี่ยวข้องกับความถี่ที่ร่างกายได้รับโรคติดเชื้อ (Infectious disease) ผลการวิจัยในสหรัฐอเมริกาเปิดเผยว่า จากจำนวนคนตายด้วยโรค พบว่ามีคนตายด้วยโรคติดเชื้อ จัดอยู่ในอันดับที่แปด และสำหรับคนที่อายุเกิน 65 ปี จัดอยู่ในอันดับที่สี่ ในทำนองเดียวกัน พบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็ง มีอัตราเพิ่มทวีคูณ สำหรับผู้ป่วยอายุเกิน 30 ปี อย่าง
น้อยจากสถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า มีการเสื่อมสภาพของภูมิคุ้มกันและการเฝ้าระวังของภูมิคุ้มกัน (immune surveillance) การไม่มีประสิทธิภาพ ส่วนใหญ่การเปลี่ยนแปลงค่าหรือพารามิเตอร์ การตรวจวินิจฉัยภูมิคุ้มกัน (Immune marker) ชี้บอกถึงโรค ก่อนที่อาการโรคจะปรากฏ เช่น leukemia, multiple myeloma และ lymphoma
ที่จริงแล้วการเสื่อมสภาพของภูมิคุ้มกันเป็นการเปลี่ยนแปลงค่าในการตรวจวินิจฉัยของจำนวนตัวเลข การกระจายและกิจกรรมของ lymphocyte subset antibody specificities และการเปลี่ยนแปลง cytokine ตามอายุ จากเหตุผลดังกล่าวการเสื่อมสภาพของภูมิคุ้มกันเป็นกระบวนการที่นําไปสู่การผิดปกติของภูมิคุ้มกัน (Immune dysregulation) การผิดปกติของภูมิคุ้มกัน เกิดขึ้นใน cell-mediated และ humoral ของระบบภูมิคุ้มกัน สองสิ่งที่มีความสำคัญมาก ได้แก่ การผลิต cytokine และการเปลี่ยนแปลงในการผลิตของ B cell ที่นําไปสู่การตอบสนองที่เป็นปฏิปักษ์ต่อเซลล์เนื้อเยื่อ หรือโปรตีนดั้งเดิมที่สร้างขึ้นมา (autoantibodies)
สาเหตุการเสื่อมสภาพของภูมิคุ้มกันของ T cells:
- การผลิต native T cell ลดลง และมีการทดแทนโดยผลิต memory T cell เพิ่มขึ้น
- ขนาดและหน้าที่ของ thymus ลดลง
- สูญเสีย DTH (Delayed Type Hypersensivity)
- มีการเปลี่ยนจาก Th1 cytokine เป็น Th2 cytokine
สาเหตุการเสื่อมสภาพของภูมิคุ้มกันของ B cell:
- การตายของ B cell เพิ่มขึ้น เนื่องจากขาดการจัดเรียงที่เหมาะสมของ gene
- การผลิต native B cell ในไขกระดูกอ่อนแอหรือเสียหาย
- การเบี่ยงเบนในการผลิต B cell ทำ ให้เกิด autoantibody
- สูญเสียการผลิต autoantibody ขึ้นมาใหม่
- เพิ่มการผลิต lg (immunoglobulin)
เป็นที่เข้าใจดีว่า เบต้ากลูแคนมีผลต่อ macrophage neutrophil และเซลล์นักฆ่า ประสิทธิภาพของเบต้ากลูแคนต่อเซลล์ที่รับผิดชอบ มีผลต่อสาเหตุการเสื่อมสภาพของภูมิคุ้มกันที่จะเกิด (ตามรายการเสนอข้างบน) หรืออย่างน้อยชะลอผลที่เกิดส่วนใหญ่ได้
สนใจหนังสือเบต้ากลูแคน ติดต่อที่ 02-147-5900-1 คุณ ลัดดา (กุ้ง) ฟรี ค่ะ
ผลิตภัณฑ์ เบต้ากลูแคน ทำหน้าที่กระตุ้นเม็ดเลือดขาว ให้ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยทั่วไปเบต้ากลูแคนที่มีคุณภาพสูงจะประกอบด้วย
- คาร์โบไฮเดรตไม่น้อยกว่า 80 % (กลูแคนเป็น polyglucose)
- 1,3-d-glucan ไม่น้อยกว่า 85 %
- ไม่มีนำตาลหรือกลูโคสเจือปน
- ตรวจไม่พบไขมันและโปรตีน ไขมันทำ ให้ไม่สามารถย่อยสารช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และโปรตีน อาจมีผลกับผู้ที่เป็นภูมิแพ้
- มีขนาดอนุภาคเฉลี่ย 0-5 ไมครอน (1 ไมครอน เท่ากับ 1 ในล้านเมตร)
- ปลอดจากเชื้อแบคทีเรีย และสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่ต้องการ
เม็ดเลือดขาวแข็งแรง เท่ากับ ภูมิคุ้มกันแข็งแรง